การบริหารอย่างยั่งยืน
การบริหารอย่างยั่งยืน
การวางแผนการพัฒนาความยั่งยืน ถูกกำหนดขึ้นเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาจากนโยบายธุรกิจ การกำกับดูแลกิจการที่ยึด "หลักธรรมาภิบาล" และแผนการบริหารความเสี่ยง เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการส่งมอบคุณค่าและความรับผิดชอบที่มี ด้วยคุณภาพที่หลากหลาย สามารถช่วยให้บริษัทฯ เกิดการพัฒนา ปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทฯ ให้มีการตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจตามที่ได้ตั้งไว้ และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
หลักสวัสดิภาพสัตว์
ฟาร์มเลี้ยงไก่ของบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับสัตว์ (Good Agriculture Practices: GAP) ตลอดจนมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีทางด้านสวัสดิภาพสัตว์ การขนส่งสัตว์ทางบกของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
ในฐานะผู้นำธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปสินค้าปศุสัตว์และเกษตรอย่างครบวงจรจีเอฟพีทีจึงให้ความสำคัญในเรื่องของการควบคุมคุณภาพความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหารบริษัทฯ ตระหนักดีว่า “คุณภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร” เป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งของการดำเนินธุรกิจ
เป็นที่ทำงานคุณภาพ
บริษัทฯ จะปฏิบัติต่อพนักงานโดยเท่าเทียมกันโดยไม่มีข้อยกเว้นและจัดสภาพการทำงานของพนักงานให้เหมาะสม ดูแลผลประโยชน์ตอบแทนให้กับพนักงานทุกคนอย่างเหมาะสม ให้ความเป็นธรรมต่อพนักงานทุกระดับ ผู้บังคับบัญชาต้องเป็นที่พึ่งและเป็นตัวอย่างที่ดีของพนักงาน รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมพนักงาน เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี
ชุมชนสามารถพึ่งพิง
บริษัทฯ มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility:CSR) ภายใต้หลักพื้นฐานทางจริยธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มุ่งเน้นผลิตและบริการอย่างมีคุณภาพตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบทของบริษัทฯ “ลดการใช้ทรัพยากร ปกป้องสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามข้อผูกมัด บังคับร่วมสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคม”
ยึดธรรมาภิบาลและหลักจริยธรรม
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเชื่อมั่นในระบบการบริหารจัดการที่ดี การมีคณะกรรมการและผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีกลไกการควบคุมและการถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้